ที่มาของรังนก / Bird's Nest
รังนก ทำมาจากน้ำลายของนกนางแอ่นหรือนกอีแอ่นจึงสำรอกออกมาแล้วจับตัวแข็งมีรูปร่างคล้ายกับรังนก น้ำลายของนกนางแอ่นที่สำรอกออกมาครั้งแรก
จะมีสีขาวบริสุทธิ์ ซึ่งเรียกกันว่า รังนกขาว จัดได้ว่าเป็นรังนกที่มีคุณภาพดีที่สุด ส่วนน้ำลายที่นกนางแอ่นสำรอกหลังออกมาจากครั้งแรก
จะเว้นสักระยะหนึ่ง ไม่ใช่สำรอกออกมาจนหมดตามที่เข้าใจ นกนางแอ่นสำรอกน้ำลายเพื่อออกมาสร้างรังนกจนกระอักเลือดนั้น ไม่เป็นความจริง
รังนกที่เราเห็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากสนิมในถ้ำที่นกทำรังไว้ได้รับความชื้นสูงสนิมจึงแทรกซึมเข้าไปในรัง โดยเฉพาะรังที่นกสร้างขึ้นในช่วงที่สอง และสาม
ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูฝนผิดกับรังแรกที่สร้างขึ้นในฤดูหนาว ประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ ในด้านเศรษฐกิจ รังนกแอ่นกินรังถือเป็นสินค้าที่ราคาแพงมาก และหาได้ยาก
จนได้รับฉายาว่า คาร์เวียร์แห่งโลกตะวันออก
หรือ ทองคำขาว (White gold)
   
นกแอ่นกินรัง
(Aerodramus fuciphagus)
  นกแอ่นกินรังตะโพกขาว
(Apus caffer)
  นกแอ่นหางสี่เหลี่ยมหรือนกแอ่นรังดำ
(Aerodramus maximus)
 
สำหรับในเมืองไทยนั้น เรามีนกนางแอ่นสามชนิดด้วยกัน คือ นกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกแอ่นหางสี่เหลี่ยมหรือนกแอ่นรังดำ
นกนางแอ่นสองชนิดแรกนั้น จะให้รังนกสีขาว ส่วนชนิดหลัง จะให้รังสีดำ โดยที่รังจะมีขนนกเป็นส่วนผสมด้วย แต่ทั้งสามชนิดนั้นสามารถใช้รับประทานได้
 
ซึ่งนกแอ่นกินรัง (Edible-Nest Swiftlet) ปัจจุบันนี้จัดอยู่ในสกุล Aerodramus จึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aerodramus fuciphagus
เดิมใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Collocalia fuciphaga โดยรังนกชนิดนี้จะถูกสร้างจากน้ำลาย ซึ่งผลิตมาจากต่อมน้ำลายของพ่อแม่นกก่อนการผสมพันธุ์
และใช้เป็นที่วางไข่ อีกทั้งยังใช้เป็นที่อยู่ของลูกนกก่อนที่จะเริ่มหัดบินได้ ส่วนประกอบของรังนก ประมาณ 85-97% เป็นน้ำลาย และ 3-15% เป็นขนอ่อน
 
รังนกมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
- รังนกแดงหรือรังนกเลือด มีแร่ธาตุสีแดงที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งคนจีนนิยมกันมาก
- รังนกดำ คือ รังนกปลายฤดูเก็บมีสีดำเพราะสีจากขนของลูกนก
- รังนกบ้าน คือ รังนกที่อาศัยอยู่ในคอนโดที่มนุษย์สร้างขึ้น
- รังนกไหมทองคำ มีราคาค่อนข้างสูง
 
     
รังนกแดงหรือรังนกเลือด   รังนกดำ   รังนกบ้าน   รังนกไหมทองคำ
 
คุณค่าทางโภชนาการ
ผลวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ในรังนก 1 ขวด มีปริมาณโปรตีนอยู่ไม่ถึงครึ่งของครึ่งกรัม ในขณะที่ไข่ไก่ธรรมดา 1 ฟอง
มีโปรตีนถึง 6.5 กรัม และนมวัวหนึ่งกล่องมีโปรตีน ถึง 8.5 กรัม อาจะพูดได้ว่าการกินรังนกขวดเล็กหนึ่งขวด เทียบได้กับการกินน้ำนมวัว 1/64 กล่อง
หรือประมาณไม่ถึงครึ่งช้อนเท่านั้นเอง มีการกล่าวอ้างสรรพคุณกันมากมาย เช่น บำรุงปอด เพิ่มโลหิต บำรุงพลังทางเพศ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน บำรุงไต
และม้าม แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน แก้ภูมิแพ้ ฯลฯ นอกจากนี้ตามหลักฐานอ้างอิง เชื่อว่าชาวจีนนิยมทานรังนกมานานกว่า 1,000 ปี
โดยเข้าใจกันว่ามีสรรพคุณด้านการบำรุงรักษาโรคด้านระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค และโรคปอด ช่วยบรรเทาคนที่เป็นโรคภูมิแพ้
มีงานวิจัยที่ระบุว่าสารสกัดโปรตีนจากรังนกสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาวบางชนิดให้อยู่ในสภาพพร้อม แบ่งตัวมากขึ้น และมีฤทธิ์ไปกระตุ้น
การเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังได้ แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าโปรตีน ตัวนี้มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ลำไส้ใหญ่จะดูดซึมเข้าสู่เลือดได้
ที่มาของข้อมูล : www. th.wikipedia.org/wiki/รังนก
 

 
สรรพคุณของรังนกนางแอ่น
- คนจีนทั้งแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง นิยมบริโภครังนกเป็นชีวิตจิตใจ มีการค้นพบว่า ในสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย ได้ปรากฏว่า มีแพทย์เขียนใบสั่งยา    
  โดยมีรังนกเป็นส่วนผสม โดยเชื่อว่า รังนกสามารถรักษาโรค

- เครื่องยาจีนสำหรับบำรุงปอด ชื่อ รังนกเก๋ากี้ (เก๋ากี้เอี้ยงออ) มีส่วนผสมของรังนก 5 กรัม , เก๋ากี้ 10 กรัม น้ำตาลกรวด 50 กรัม กินทุกเช้าเย็น
   ครั้งละหนึ่งถ้วย มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงปอด ตับ และไต เสริมประสิทธิภาพบำรุงปอดได้ดีมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ปอดอ่อนแอ ไอแห้ง
   หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีอาการร้อนขึ้นในตอนบ่าย ร่างกายอ่อนแอ เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ผู้ป่วยวัณโรคในระยะพักฟื้น

- ศ.ดร. หยุน เฉิน กง แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง เป็นนักวิจัยที่เกี่ยวกับสมุนไพรจีนและยาที่ทำจากสัตว์ ได้ค้นพบว่า รังนกเป็นโปรตีนที่สามารถละลายน้ำได้   
  ซึ่งเชื่อกันว่า สามารถส่งเสริมเซลล์ภายในระบบภูมิคุ้มกันโรคได้ และเป็นไปได้ที่จะใช้มันต้านสารเสพติด AZT และสามารถต่อต้านภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  ในโรคเอดส์ได้ (Eric Valli and Diane Summers, Shadow Hunters (Singapore: Sun tree publishing limited,1990),9.)

- นิสา พงศ์ชู นักสัตววิทยาของไทย ได้สรุปผลจากการตรวจสอบสารประกอบที่สกัดได้จากรังนกนางแอ่น พบว่า สารประกอบดังกล่าว
  มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งHaemagglutination ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดไข้หวัดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การวิเคราะห์คุณภาพรังนกนางแอ่นของ Quate(1952) พบว่า จากรังนก 100 กรัม ปรากฎว่ามีโปรตีนร้อยละ 54 ,คาร์โบรไฮเดรต ร้อยละ 23.3
  น้ำร้อยละ 16.2 , ไขมันร้อยละ 0.3 และอื่นๆ อีกร้อยละ 5.9 ซึ่งรวมถึงฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม

- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการวิเคราะห์หาส่วนผสมของรังนกนางแอ่น พบว่า ประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 60.90
  แคลเซียมร้อยละ 0.85 , น้ำร้อยละ 5.11 , โพแทสเซี่ยมร้อยละ 0.05 และฟอสฟอรัส ร้อยละ 0.03 ซึ่งสารแต่ละชนิดต่างก็มีคุณค่าทางโภชนาการทั้งสิ้น
ที่มาของข้อมูล : วารสารแม็ค ม.3 ฉบับเดือนกันยายน 2544
 

 
INS 401 คืออะไร

INS มีชื่อเต็มว่า The International Numbering System for Food Additives หรือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร
สำหรับ INS 401 คือ โซเดียมอัลจิเนต (Sodium Alginate) เป็นสารไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) ที่ทำให้อาหารที่ถูกผสมมีลักษณะข้นและหนืดขึ้น
จนถึงเป็นเจล หรือคงรูปร่างได้ได้เมื่อเจอกับแคลเซียม ซึ่งเป็นเจลที่ทนต่อความร้อน (thermoirreversible gel) หรือไม่เปลี่ยนไป-มาเมื่อได้รับความร้อน
จัดอยู่ในสารประเภทเดียวกับพวกผงวุ้น เจลาติน คาร์ราจีแนน กัวกัม และแป้ง อัลจิเนตยังใช้เคลือบผิวเนื้อปลาก่อนนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเกิดการไหม้ (freezer burn) นอกจากนี้อัลจิเนตยังใช้เป็นสารเพิ่มคงตัวให้กับไอศครีม น้ำสลัด
และใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวให้กับโฟม เป็นต้น

โซเดียมอัลจิเนตสกัดได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) เช่น Macrocystis pyrifera, Laminaria digitata,
Laminaria hyperborea
และผ่านการทำแห้ง มีลักษณะเป็นผง

ลักษณะทั่วไป
- อยู่ในรูปของสารประกอบผสมของเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และโพแทสเซียมของกรดแอลจินิก (alginic acid) ซึ่งละลายได้ในน้ำ
- ทำให้เกิดเจลได้ หรือเป็นสารก่อเจล (gelling agent) ซึ่งเป็นเจลที่ทนต่อความร้อน (thermoirreversible gel)
  หรือไม่เปลี่ยนไป-มาเมื่อได้รับความร้อน

การใช้แอลจิเนตในอาหาร
กรดแอลจินิก (alginic acid) และแอลจิเนต ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)

หมายเหตุ : สำหรับบางประเทศจะใช้รหัส A401 (A : ออสเตรีย / Austria ) และ E401 (E : สหภาพยุโรป / European Union )

คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2568/alginate-แอลจิเนต
 
INS 420 คืออะไร

ซอร์บิทอล (อังกฤษ: sorbitol) หรือ กลูซิทอล (อังกฤษ: glucitol) ที่เป็นชื่อสามัญน้อยกว่า เป็นแอลกอฮอล์น้ำตาล มีรสหวาน
ซึ่งร่างกายมนุษย์ย่อยสลายได้ช้า ๆ และให้แคลอรีน้อยกว่าซูโครสหรือน้ำตาลทั่วไปถึง 1 ใน 3 หากบริโภคมากเกิน
(เช่นในหมากฝรั่งไร้น้ำตาล) อาจทำให้ท้องร่วงรุนแรงและน้ำหนักลด[2] สามารถสังเคราะห์ได้โดยรีดิวซ์กลูโคส
ซึ่งเปลี่ยนหมู่แอลดีไฮด์ให้เป็นไฮดรอกซิล ซอร์บิทอลโดยมากทำมาจากน้ำเชื่อมข้าวโพด แต่ก็มีโดยธรรมชาติเหมือนกัน
เช่นในลูกแอปเปิล สาลี่ ท้อ พรุน องุ่น สาหร่ายทะเล อ้อยและมันสำปะหลัง ใช้กับเครื่องดื่มจะลดความขมของน้ำตาลได้
สามารถเปลี่ยนเป็นฟรักโทสได้ด้วยเอนไซม์ sorbitol-6-phosphate 2-dehydrogenase เป็นไอโซเมอร์ของแมนนิทอล (mannitol)
ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์น้ำตาลอีกชนิดหนึ่ง ทั้งสองต่างกันแค่ตรงทิศทางของหมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนอะตอมที่ 2 แม้จะคล้าย ๆ กัน
แอลกอฮอล์ทั้งสองก็มีแหล่งตามธรรมชาติ จุดหลอมเหลว และการใช้สอยที่ต่างกัน

ลักษณะทั่วไป เป็นเกล็ดเมล็ด ไม่มีกลิ่น ความหวานกลมกล่อม ความหวานเป็น 60% ของน้ำตาลทราย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
คือ ซอร์บิทอลเหลวหรือน้ำ มีสีขาวใส ๆ ไม่ขุ่น จะเหนียวหนืดพอสมควร และซอร์บิทอลผง เป็นผงผลึกขาว เป็นเกล็ดเล็กมาก

ซอร์บิทอลสามารถใช้เป็นน้ำตาลเทียม (INS 420, E 420) โดยหวานประมาณ 60% ของน้ำตาลทราย (ซูโครส)
เป็นน้ำตาลที่ให้พลังงาน คือ 2.6 กิโลแคลอรี (11 กิโลจูล) ต่อกรัม เทียบกับพลังงานของคาร์โบไฮเดรตโดยเฉลี่ยที่ 4 กิโลแคลอรี (17 กิโลจูล)
บ่อยครั้งใช้ในอาหารไดเอ็ต (รวมทั้งน้ำอัดลมและไอศกรีม) ลูกอม ยาแก้ไอ และหมากฝรั่งปลอดน้ำตาล
แบคทีเรียโดยมากไม่สามารถใช้ซอร์บิทอลเป็นพลังงานได้ แต่กลุ่มแบคทีเรียที่พบในปาก คือ Streptococcus mutans
ก็สามารถหมักมันได้อย่างช้า ๆ และดังนั้น จึงอาจทำให้ฟันผุซึ่งไม่เหมือนไซลิทอลที่ไม่ทำให้เกิดสภาวะกรด

ความสำคัญทางการแพทย์
aldose reductase เป็นเอนไซม์แรกในวิถีเมแทบอลิซึม sorbitol-aldose reductase pathway
ซึ่งรีดิวซ์กลูโคสเป็นซอร์บิทอล และรีดิวซ์ galactose เป็น galactitol ด้วย

ซอร์บิทอลที่ติดอยู่ในเซลล์จอตา ที่เซลล์เลนส์ตา และที่ Schwann cells ซึ่งเป็นปลอกไมอีลินหุ้มปลายประสาท เกิดบ่อย
เพราะภาวะน้ำตาลสูงในเลือดเนื่องจากโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้เซลล์เหล่านี้เสียหาย แล้วนำไปสู่โรคจอตา (retinopathy)
ต้อกระจก และโรคเส้นประสาทส่วนปลาย ตามลำดับ สารยับยั้ง aldose reductase ซึ่งระงับหรือหน่วงฤทธิ์ของเอนไซม์
ปัจจุบันกำลังศึกษาเพื่อใช้ป้องกันหรือหน่วงเวลาภาวะแทรกซ้อนเช่นนี้

ซอร์บิทอลจะหมักอยู่ในลำไส้ใหญ่และมีผลิตผลเป็นกรดไขมันลูกโซ่สั้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพของลำไส้ใหญ่โดยทั่วไป

คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ซอร์บิทอล
 

 
สาระน่ารู้เกี่ยวกับรังนกปลอม
Karaya gum / กัมคารายา คืออะไร
กัมคารายา (Karaya gum) เป็นกัม (gum) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็นสารในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid)
ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ประเภท heteropolysaccharide ที่ใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)
 
ชื่อเรียกอย่างอื่น : Karaya , Gum sterculia , Sterculia , Kadaya , Katilo , Kullo , Kuterra , Gum karaya
 
 
แหล่งที่มา : กัมคารายา เป็นกัมที่ได้จากน้ำยาง (exudate gum) ของต้น Sterculai urens ที่มีแหล่งปลูกในประเทศอินเดีย ซูดาน
และบางประเทศทางแอฟริกาเหนือ ยางคารายามีสีขาว สีเหลืองอมชมพู จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ละลายในน้ำ
 
โครงสร้างโมเลกุล : Gum karaya เป็น partially acetylated polysaccharide ที่มีโครงสร้างเป็นกิ่งก้านสาขา มีน้ำหนักโมเลกุลสูง
ในโมเลกุลประกอบด้วย D-gulacturonic acid, D-galactose และ L-rhamnose ต่อกันเป็นสายหลัก และมีกิ่งแขนงเป็น D-glucuronic acid
มีหมู่ uronic acid ประมาณ 35-40% และมีหมู่ acetyl อยู่ประมาณ 10-14%
 
Gum karaya ที่ผลิตเพื่อการค้า ประกอบด้วย D-gulacturonic acid 30-43% , D-galactose 13-26% และ L-rhamnose 15-30%
นอกจากนี้ยังพบไอออนของโลหะ Ca และ Mg เชื่อมต่อกับ uronic acid
 
Gum karaya เป็น gum ที่มี rhamnose สูงกว่ากัมจากยางไม้ (exudate gum) ชนิดอื่นๆ
 
คุณสมบัติของคารายากัม : Gum karaya ละลายในน้ำได้น้อย แต่ดูดน้ำและพองตัวได้ดี เนื่องจากมีหมู่ acetyl ในโครงสร้างทำให้ Gum karaya
ละลายในน้ำได้ไม่สมบูรณ์ แต่ให้สารละลายที่ใส โดยการดูดน้ำอย่างรวดเร็ว ให้ลักษณะเป็นคอลลอยด์ที่มีความหนืด ที่ความเข้มข้นต่ำ
(น้อยกว่า 0.02% ในน้ำเย็น และ 0.06% ในน้ำร้อน) เมื่อทำเป็นผงละเอียด จะเป็นตัวดูดน้ำและอุ้มน้ำที่ดีและเมื่อกระจายตัวอยู่ในน้ำจะพองตัวได้
60-100 เท่าของปริมาตรเดิม ได้เป็นสารละลายที่มีความหนืดสูง ความหนืดของสารละลาย จะแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้น เมื่อใช้ในปริมาณมาก
จึงมีสมบัติเป็น strong adhesiveness ทำให้ได้สารละลาย คอลลอยด์ที่มีความหนืดสูง
 
คุณสมบัติของสารละลาย gum karaya จึงขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค การกระจายตัวของอนุภาค ในน้ำเย็นจะให้ความหนืดสูงกว่าในน้ำร้อน gum karaya ทนต่อความเป็นกรดได้สูง เพราะในโมเลกุลมีกรดยูโรนิก (uronic acid) สูง และยังทนต่อการ hydrolysis ที่ความเข้มข้น
ของสารละลาย hydrochloric acid สูงถึง 10% ที่อุณหภูมิห้องนานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
 
การใช้ประโยชน์ในอาหาร : คารายากัมใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) INS 416 เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid)
มีลักษณะเป็นผง เช่น อิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) , ทำให้เกิดความข้นหนืด (thickening agent) และ ทำให้คงตัว (stabilizing agent)
ในการเคลือบ ทำไส้ขนม น้ำราด ขนมหวาน ใช้ผลิตรังนกเทียม เนื่องจากดูดซับน้ำและพองตัวคล้ายรังนกมาก
 
คัดลอกบางส่วนจาก : http://www.foodnetworksolution.com ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร ค้นหา "กัมคารายา"
 
บทความจากเรื่อง : รังนกปลอม มาจากยางคารายา
เขียนโดย : Kungten Pathum
ดูรายละเอียดได้ที่นี้ : http://baipaknaru.blogspot.com/2013/03/blog-post_1321.html
 
บทความจากเรื่อง : ต้นกรรณิการ์ หรือคารายากัม
เขียนโดย : ปริชาติ หงษ์สิงห์, ชนิดา พลานุเวช และนิจศิริ เรืองรังษี จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดูรายละเอียดได้ที่นี้ : http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/ต้นกรรณิการ์ หรือคารายากัม
 

 
อย.ตรวจเจอ “รังนกปลอม” เตือนผู้บริโภคสังเกตก่อนซื้อ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เผยตรวจพบผู้ประกอบการบางรายใช้วัตถุดิบปลอมทำเครื่องดื่มรังนก ย่านคลองสามวา กทม. เตือนผู้บริโภคระมัดระวังการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ด้านเซ็นทรัลแล็บไทย ชี้ รังนกเทียมทำมาจากยางไม้ มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล ไม่มีคุณค่าทางอาหาร
 
 
วันที่ 12 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกประกาศเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนก หลังตรวจสอบแล้วพบว่า มีผู้ประกอบการบางรายใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้มีส่วนประกอบมาจากนกนางแอ่น โดยประกาศดังกล่าว อย.ระบุว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนกยี้ห้อหนึ่ง ย่านคลองสามวา กรุงเทพมหานคร พบผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบุว่า วัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบหลักไม่มีความใกล้เคียงกับรังนกนางแอ่น แต่ในฉลากสินค้ากลับระบุว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีส่วนประกอบ เป็นรังนกแห้งอย่างดี ถือว่าเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค และเข้าข่ายเป็นอาหารผลิตขึ้นเทียม จำหน่ายอาหารปลอม จะโทษทางกฎหมาย จึงเตือนให้ผู้บริโภคระมัดระวังก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มรังนก
 
ด้าน พ.ท.นราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างรังนกแท้และรังนกเทียม ว่า รังนกเทียม ผู้ประกอบการมักใช้ ยางไม้ที่เรียกว่า ยางคามายา ที่มาจากต้นสุพรรณิการ์ พืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียนำมาแช่น้ำ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับรังนกเมื่อถูกน้ำ จากการตรวจสอบส่วนผสมทางห้องปฏิบัติการ พบว่ายางคามายาส่วนใหญ่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาล ซึ่งไม่มีคุณค่าทางอาหารใด ๆ ส่วนรังนกแท้ หากตรวจสอบด้วยเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ จะพบว่ามีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือมีรูปแบบของลายพิมพ์อินฟราเรดเสปคตัมและส่วนประกอบของกรดอะมิโน แตกต่างจากวัสถุชนิดอื่นอย่างชัดเจน ทำให้การแยกรังนกเทียม หรือ รังนกแท้ได้ โดยเซ็นทรัลแล็บไทย นำเครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า FT-IR (Fourier Transform Infrared Spectroscopy) ใช้ในการตรวจหาความแท้ของรังนก ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างรังนกแท้กับรังนกเทียมในเวลาไม่นาน
 
ทั้งนี้ส่วนวิธีสังเกตรังนกแท้ หรือ รังนกเทียม ผู้บริโภคสามารถสังเกตเบื่องต้นด้วยตาเปล่า คือ รังนกแท้จะมีลักษณะเป็นเส้นชัดเจน
มีกลิ่นคาวน้ำลายนกนางแอ่นขณะตุ๋น และมีรสชาตอร่อยเหนียวข้นตามธรรมชาติ ส่วนรังนกปลอม จะไม่มีกลิ่นคาว เนื้อสัมผัสจะจับตัวเป็นก้อน
หรือแผ่นเล็ก ๆ คล้ายวุ้น
 
คัดลอกข้อมูลจาก : https://centrallabthai.com/index.php/th/news/general-news/item/286-162727112561
อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก : PPTV 36
 

รับส่งออกสินค้าสินค้าทุกประเภททางเรือไปทั่วประเทศจีน  พร้อมจัดทำเอกสารทางราชการทั้งนำเข้า และส่งออก รวมถึงจดทะเบียนให้กับบริษัทของท่านเบ็ดเสร็จ
|  หน้าแรก  |  ข้อมูลทางวิชาการ  |  เกี่ยวกับเรา  |  ผลิตภัณฑ์  |  ติดต่อเรา  |
รับจ้างผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปทุขนาดบรรจุ พร้อมบริการส่งออกทางเรือไปทั่วประเทศจีน
โกลเด้น ซิลค์ กรุ๊ป
19/85  ถนนบางขันธ์-คลองหลวง  ตำบลคลองสาม  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี 12120
Call-Center : 084-467-7810   E-mail : ceo424d@hotmail.com
ไก่ดำมหากิจ , รับจ้างผลิตสินค้า , ผลิต , จำหน่าย
Home Remedies For Wrinkles